หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทัศนธาตุกับงานศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่
4
เรื่อง ทัศนธาตุ เวลา
6 ชั่วโมง
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
ทัศนธาตุเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งต่างๆในธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้
ตัวชี้วัด
ศ 1.1
ป.4/3 จำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่างๆ
ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่อง เส้น สี รูปร่าง รูปทรง
พื้นผิว และพื้นที่ว่าง
จุดประสงค์การเรียนรู้
-
จำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ได้
สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. ทัศนธาตุกับงานศิลป์
-
เส้น
-
รูปร่าง
-
รูปทรง
-
สี
-
พื้นผิว
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสารความสามารถในการคิด
-
ทักษะการคิดวิเคราะห์
-
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
-
กระบวนการปฏิบัติ
-
กระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย
2. ใฝ่เรียนรู้
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :
เทคนิคร่วมกันคิด)
ชั่วโมงที่ 1-2
1.
ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียน
แล้วสังเกตลักษณะของสิ่งต่างๆ ในภาพ
จากนั้นบอกว่าเห็นอะไรในภาพบ้าง
3. นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม โดยมีแนวตอบ
คือ เห็นเส้นโค้ง เส้นตรง
เส้นหยัก รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม
สีส้ม สีแดง สีฟ้า
และอื่นๆ ตามความคิดของนักเรียน
4. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง
ทัศนธาตุกับงานศิลป์ หัวข้อ เส้น จากหนังสือเรียน แล้วครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนจับสลากลักษณะเส้นต่างๆ คนละ 1
อย่าง จากนั้นให้นักเรียนยกตัวอย่าง เช่น
-
เส้นตรง - ขอบสมุด ตึก
-
เส้นโค้ง - ผลส้ม
คลื่นน้ำในทะเล เป็นต้น
5. ครูให้นักเรียนวาดเส้นต่างๆ
ที่สังเกตเห็นจากสิ่งรอบตัวลงในกระดาษวาดเขียน พร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม
6. ครูให้นักเรียนแลกเปลี่ยนผลงานกันดู เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
7. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่า ลักษณะของเส้น
ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ จริงหรือไม่
8. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน
ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายในกลุ่มว่า ลักษณะของเส้น
ทำให้เกิดความรู้สึกได้หรือไม่ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
9.
ครูให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
10.
ครูและนักเรียนร่วมกันประมวลผลจากการอภิปรายกลุ่ม เพื่อสรุปความรู้เรื่อง
เส้นและความรู้สึกที่เกิดจากเส้น
11. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.1 เรื่องเส้น
โดยให้ติดภาพที่แสดงเส้นแบบต่างๆ ลงในกรอบ แล้วบันทึกข้อมูล
12. เมื่อทำเสร็จแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียน
ประมาณ 4-5 คน ออกมานำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
ชั่วโมงที่ 3
1. ครูให้นักเรียนจับคู่กัน จากนั้นให้แต่ละคู่สำรวจบริเวณโรงเรียน แล้ววาดรูปร่างและรูปทรงของสิ่งต่างๆ
ในโรงเรียนมา 1 ชนิด
พร้อมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของสิ่งของนั้น เช่น
แจกันในห้อง ป.4/2 ตุ๊กตาที่ห้อง
อ.1/1 โดยครูให้เวลาทำกิจกรรม 15 นาที
2.
ครูให้นักเรียนแต่ละคู่นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า สิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวเรามีลักษณะรูปร่างและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป
4. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง
ทัศนธาตุกับงานศิลป์ หัวข้อ รูปร่างและรูปทรง จากหนังสือเรียน
5. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่า สิ่งที่อยู่รอบๆ
ตัวชนิดใดบ้างมีลักษณะเป็นรูปร่าง เพราะเหตุใด
ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
6. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง รูปทรง
โดยดูภาพที่กำหนดให้ แล้วเขียนบอกว่า ภาพใดมีรูปทรงอย่างไร
ชั่วโมงที่ 4
1. ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
แล้วครูและเพื่อนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง
2.
ครูและนักเรียนร่วมกันคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ แล้วนำไปจัดป้ายนิเทศ
3.
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสีของสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยครูใช้คำถามต่อไปนี้
-
หากคิดถึงสีเหลือง นักเรียนคิดถึงผลไม้อะไรบ้าง
-
หากคิดถึงสิ่งที่มีลวดลายนักเรียนคิดถึงอะไรบ้าง
-
สีรถยนต์ที่นักเรียนชอบคือสีใด
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า ในธรรมชาติรอบตัวประกอบด้วยสีสันมากมาย
ทั้งสีจากธรรมชาติ และสีที่มนุษย์สร้างขึ้น
5. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง สี
โดยให้วาดภาพสิ่งของหรือทิวทัศน์ในบริเวณโรงเรียน
โดยระบายสีตามความเป็นจริงแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ชั่วโมงที่ 5
1.
ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
ครูและนักเรียนร่วมกันคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุด 3 อันดับ
นำไปจัดป้ายนิเทศ
2. ครูนำสิ่งของต่างๆ ได้แก่ ฟองน้ำ ไข่ไก่
กระดาษทราย สับปะรด (หรืออื่นๆ
ตามความเหมาะสม) ใส่ไว้ในกล่องทึบ
จากนั้นให้นักเรียนลองสัมผัส
แล้วถามนักเรียนว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องน่าจะเป็นอะไรบ้าง เพราะเหตุใด
3. ครูสรุปเพิ่มเติมว่าสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวเรามีทั้งพื้นผิวเรียบและพื้นผิวขรุขระ
4. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้แต่ละกลุ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน แล้วยกตัวอย่างสิ่งของมา 5 ชนิด แล้วบอกลักษณะพื้นผิวของสิ่งนั้นๆ
และวิธีการสัมผัสที่ทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีพื้นผิวเป็นอย่างไร
5. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการสำรวจหน้าชั้นเรียน
ครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า
พื้นผิวของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีลักษณะหลากหลายแบบ เช่น พื้นผิวเรียบ
พื้นผิวขรุขระ พื้นผิวอ่อนนุ่ม
ชั่วโมงที่ 6
1. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ว่าง
จากหนังสือเรียน
2. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่า
พื้นที่ว่างมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนในงานศิลปะ เพราะเหตุใด
ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
3.
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความสำคัญของพื้นที่ว่างที่มีต่อผลงานศิลปะ
4. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่า
ทัศนธาตุที่เราสังเกตเห็นนั้น
สามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้อย่างไรบ้าง
5. ครูให้นักเรียนทำใบงานที่ 2.4 เรื่อง
พื้นที่ว่าง โดยให้วาดภาพที่ต้องการลงในกรอบ แล้วระบายด้วยดินสอสีให้สวยงาม
โดยจัดภาพให้มีพื้นที่ว่างเหมาะสม
จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนแสดงความคิดเห็น
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง
ทัศนธาตุ
7. ครูให้นักเรียนทำชิ้นงานที่ 1.2 เรื่อง
ทัศนธาตุ โดยให้หารูปภาพสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน มาติดลงในกรอบ
แล้วเขียนบรรยายถึงทัศนธาตุที่เห็น
การวัดผลและประเมินผล
วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน ทัศนศิลป์ ป.4
2. สิ่งของที่ใช้ใส่ในกล่องทึบ เช่น ไข่ไก่ สับปะรด ฟองน้ำ
กระดาษทราย เป็นต้น
3. ใบงานที่ 2.1 เรื่อง เส้น
4. ใบงานที่ 2.2 เรื่อง รูปทรง
5. ใบงานที่ 2.3 เรื่อง สี
6. ใบงานที่ 2.4 เรื่อง พื้นที่ว่าง
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. สิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. บริเวณรอบโรงเรียน
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : บริษัท อักษรเจริญทัศน์
อจท. จำกัด
ใบงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น